บ้านที่อยู่อาศัย
- กฎหมาย (13)
- การดูแลรถ (1)
- เครื่องมือช่าง (2)
- งานช่าง (186)
- งานสี (16)
- จัดซื้อจัดจ้าง (7)
- จัดซื้อจัดจ้างงานรัฐ (3)
- ธุรกิจ (20)
- บทความ seo (24)
- บ้านเชียงใหม่ (2)
- บ้าน ที่อยู่อาศัย (100)
- บ้านหรู เชียงใหม่ (10)
- ประกวดราคา (4)
- ผู้รับเหมา (55)
- รับเหมาก่อสร้าง (43)
- แร็ปสีรถ (1)
- วัสดุช่าง (2)
- สัญญช่าง (1)
- สัญญาช่าง (2)
- สุขภาพ (6)
- เสาเข็ม (1)
- หาช่าง (61)
- อาหารเครื่องดื่ม (1)
- อาหารญี่ปุ่น (2)
วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559
แก้งานผิวคอนกรีตพื้นแตกร้าว ต่อจาก ผู้รับเหมา รายอื่น
การเป็น ผู้รับเหมา บางครั้งไม่ได้มีแต่งานในการ ก่อสร้างใหม่เพียงอย่างเดียว แต่อาจจะต้องเจอกับการซ่อมการแก้ไข ซึ่งบางครั้งเป็นงานที่ต้องเข้าไปทำต่อจ้าง ผู้รับเหมา รายอื่น ที่ทำเอาไว้ ซึ่งเรื่องนี้ บางทีก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสักเท่าไหร่นัก เพราะกว่าจะหาสาเหตุที่ไปที่มา และหาทางจัดการได้อย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอสมควร... พูดง่ายๆ คือ ซ่อมบางทีอยากกว่าทำใหม่เสียอีก !!! และมีอยู่งานหนึ่งที่ ผู้รับเหมา อาจจะต้องเข้าไปทำการแก้ไขซ่อมแซมต่อจากผู้รับเหมารายอื่นก็คือ งานผิวคอนกรีตพื้นแตกร้าว...
การแก้ไขพื้นคอนกรีตแตกร้าวต่อจาก ผู้รับเหมา รายอื่น สิ่งที่ควรทำก็คือ...
1. ต้องหาสาเหตุของการแตกร้าวของพื้นคอนกรีตนั้นให้เจอก่อน ว่ามันเกิดจากสาเหตุใด เพราะหากหาสาเหตุไม่เจอก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ทำเสร็จปัญหาก็อาจจะกลับมาอีก ซึ่งนั่นทำให้เสียชื่อ และต้องรับผิดชอบในการกลับไปแก้งานอีก ซึ่งส่วนมา สาเหตุที่จะทำให้ พื้นคอนกรีตเกิดการทรุดตัวก็มักจะเกิดจาก... พื้นที่บดอัดไม่แน่น ดินยังไม่เซ็ทตัวดี เมื่อเทพื้นคอนกรีตลงไป ไม่นานพอพื้นดินยุบลงก็ทำให้คอนกรีตแตกร้าว
2. ต้องแน่ใจในเรื่องของโหลด หรือ น้ำหนักที่จะเกิดขึ้นบนพื้นคอนกรีต เรื่องนี้สำคัญมาก หากไม่ทราบแน่ชัด ก็ไม่สามารถทำพื้นให้รองรับได้ในระดับที่มั่นใจได้ว่าไม่เกิดปัญหา ต้องดูด้วยว่าจะมีโหลดแบบไหนเข้ามาในพื้นที่บ้าง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นลานจอดรถ อันนี้ต้องดูขนาดของรถที่เข้าออก ว่ามีน้ำหนักมากน้อยแค่ไหน ต้องมีความพอดี ทำมากเกินไปก็เปลือง น้อยเกินไปก็เกิดปัญหาการแตกร้าว เนื่องจากพื้นแข็งแรงไม่พอที่จะรับน้ำหนักที่เกิดขึ้น
3. เพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้าง ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีการคำนวณโครงสร้างที่เสริมลงไปก่อเทคอนกรีต ว่าจะต้องรับน้ำหนักจากอะไรบ้าง การเสริมความแข็งแรงก็มีอยู่ 2 ระดับก็คือ ระดับการเปลี่ยนโครงเหล็กภายในคอนกรีต อาจเป็นการเปลี่ยนวัสดุ หรือ แม้แต่การเปลี่ยนขนาดของเหล็กให้ใหญ่ขึ้น เพื่อให้รับน้ำหนักได้มากขึ้น ไปจนถึง... การเพิ่มเสาเข็ม ! ซึ่งการเพิ่มเสาเข็มอาจจะใช้เสาเข็มสั้นๆ ที่เป็น คอนกรีต หรือ ไม้ก็ได้ ตามความเหมาะสมของหน้างานแต่ละแห่ง และภาระที่ต้องรับน้ำหนัก ยกตัวอย่าง หากเป็น พื้นลานจอดรถ อาจใช้ เสาเข็มปูนหรือไม้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.15 เมตร ยาวประมาณ 2 – 4 เมตร ตอกลงไปเป็นพื้นที่ 1 x 1 ตารางเมตร แล้วค่อยเทคอนกรีต แบบนี้ก็เพิ่มความแข็งแรงของพื้นคอนกรีตได้เป็นอย่างดี
4. อย่าลืมดูสัญญา รับเหมาก่อสร้าง ชุดเดิม เรื่องนี้จำเป็นมาก และต้องทำทุกครั้งเมื่อจะไปรับงานต่อ และหากว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการเพิ่มเติมลงไปในสัญญาว่าจ้างชุดใหม่ที่เราเข้าไปทำงาน เพื่อกำหนดขอบเขตงานและความผิดชอบของเราให้ชัดเจน ในกรณีที่ รับสัญญาเก่ามาเลย แต่มีเรื่องต้องทำเพิ่ม จะต้องทำสัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายเสมอ
นี่เป็นสิ่งที่ ผู้รับเหมา ควรทำ เมื่อจะต้องเข้าไปแก้ไขงานพื้นคอนกรีตแตกร้าว ต่อจากผู้รับเหมารายอื่น อย่าเห็นว่าเป็นเรื่องเล็ก และทำเลยโดยไม่ได้ตรวจสอบอย่างละเอียด ไม่เช่นนั้นอาจมีปัญหาตามมาในภายหลัง ให้ต้องตามมาแก้และรับผิดชอบ....
ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com แหล่งหาช่าง ผู้รับเหมา
ป้ายกำกับ:
งานช่าง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น