บ้านที่อยู่อาศัย
- กฎหมาย (13)
- การดูแลรถ (1)
- เครื่องมือช่าง (2)
- งานช่าง (186)
- งานสี (16)
- จัดซื้อจัดจ้าง (7)
- จัดซื้อจัดจ้างงานรัฐ (3)
- ธุรกิจ (20)
- บทความ seo (24)
- บ้านเชียงใหม่ (2)
- บ้าน ที่อยู่อาศัย (100)
- บ้านหรู เชียงใหม่ (10)
- ประกวดราคา (4)
- ผู้รับเหมา (55)
- รับเหมาก่อสร้าง (43)
- แร็ปสีรถ (1)
- วัสดุช่าง (2)
- สัญญช่าง (1)
- สัญญาช่าง (2)
- สุขภาพ (6)
- เสาเข็ม (1)
- หาช่าง (61)
- อาหารเครื่องดื่ม (1)
- อาหารญี่ปุ่น (2)
วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เจ้าของบ้านไม่ถูกกับข้างบ้าน ผู้รับเหมา จะทำยังไง
เวลาที่ ผู้รับเหมา เข้ารับทำงาน รับเหมาก่อสร้าง เรื่องหนึ่งที่อาจทำให้เกิดปัญหาในการทำงานได้ง่ายๆ และเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวเอามากๆ ก็คือ... เรื่องของผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง ! หรือ เพื่อนบ้านของเจ้าของบ้านที่ว่าจ้างให้เราทำงาน เพราะแน่นอนว่าในการก่อสร้างเป็นเรื่องที่มีเสียงดัง มีแรงสะเทือน และบางทีก็มีรถขนวัสดุขนาดใหญ่เข้าออก เป็นเรื่องที่รบกวนผู้ที่อยู่รอบข้างพอสมควร ซึ่งเรื่องนี้ ผู้รับเหมา ต้องระวังและใส่ใจให้มาก แต่... มันจะเป็นปัญหาหนักมากหาก... เจ้าของบ้าน กับบ้านที่อยู่ข้างๆ ที่ๆ จะก่อสร้างเกิดไม่ถูกกัน !! เรื่องนี้ ผู้รับเหมา จะต้องหาทางรับมือให้ดี !
การที่เจ้าของบ้าน เขาไม่ถูกกัน แล้วเราเป็น ผู้รับเหมา เข้าไปทำงานก่อสร้างให้บ้านหลังใดหลังหนึ่งนั้น โอกาสที่จะเกิดปัญหาน่าปวดหัวในเวลาทำงาน เป็นได้สูงมาก เพราะฝ่ายที่บ้านไม่ได้ก่อสร้าง ก็จะจ้องจับผิด ถ้าเป็นหนังเป็นละครก็เรียกว่า... เอากันแบบชนิดช็อตต่อช็อต ซีนต่อซีน !! ซึ่งหาก ผู้รับเหมาก่อสร้าง รู้ระแคะระคาย หรือได้ข่าวมา หรือได้รับการบอกกล่าวจากเจ้าของบ้าน ก็ขอให้เตรียมตัวรับมือเอาไว้ โดยเฉพาะเรื่องต่อไปนี้...
เรื่องที่ ผู้รับเหมา ควรระวังและดูแลให้ดี ในกรณีเจ้าของบ้านที่เราก่อสร้างไม่ถูกกับข้างบ้าน....
1. แบบต้องถูกต้อง เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าให้ผิดเลยทีเดียว เพราะหากมีการโดนร้องเรียน มีโอกาสต้องรื้อสร้างใหม่สูง ! ไม่ว่าจะเป็นการล้ำของหลังคา การสร้างชิดแนวเขตเกินไป ทุกอย่างต้องตรงตามแบบที่ยื่นถูกต้องทั้งหมด
2. เสียงต้องไม่รบกวนมากจนเกินไป อันนี้เป็นเรื่องที่น่าเหนื่อยใจที่สุด เพราะงานก่อสร้าง เรื่องเสียงดังเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงได้ยากมาก ! และเป็นเรื่องที่รบกวนเพื่อนบ้านแน่นอน เพียงแต่ว่า สิ่งที่ ผู้รับเหมา พอทำได้ ก็คือ พยายามควบคุมระดับความดังของเสียง และเวลาที่ก่อสร้างแล้วมีเสียงดังให้อยู่ในระดับที่กฎหมาย หรือ เทศบัญญัติกำหนดเอาไว้ และควรมีการบอกกล่าว บ้านข้างๆ ให้ทราบก่อนด้วย เพื่อลดปัญหา เรื่องเสียงนี้... อย่าว่าแต่เสียงดังอย่างในงานก่อสร้างเลย คนไม่ถูกกัน แค่ได้ยินเสียฝีเท้าอีกฝ่ายเดิน ไม่ต้องดัง ไม่ต้องเห็นตัวก็รู้สึก ไม่ชอบแล้ว !!!
3. การสัญจรบนถนน เรื่องนี้ก็สำคัญ เวลาที่มีงานก่อสร้าง จะมีรถขนส่งวัสดุเข้าออกอยู่ตลอด และส่วนมากเป็นรถที่มีขนาดใหญ่ อาจเกิดการกีดขวาง ทำให้เข้าออกลำบาก อันนี้ก็ต้องจัดเวลาให้ดี อย่าให้ไปบังทางเข้าหน้าบ้านที่เขาไม่ค่อยชอบกันให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เศษวัสดุ หรือ กองวัสดุ ต้องไม่ กีดขวางทางสัญจร เพราะเรื่องนี้ หากโดนเอาผิด เข้ากฎหมาย มาตรา 397 หมวดลหุโทษ ! เป็นอาญา !! ตำรวจต้องรับเรื่อง ข้อนี้ถือเป็นการกระทำความผิดฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญใจ เจอเข้าไปปวดหัวเปล่าๆ ระวังไว้ดีที่สุด !!
4. สร้างและรักษาความสัมพันธ์กับผู้ที่อยู่ใกล้เคียง เรื่องนี้ แม้ว่าตัวของ ผู้รับเหมา เอง จะทำงานให้กับฝ่ายใดฝายหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องไปผิดใจหรือทะเลาะตามเข้าไปด้วย ตรงกันข้าม ผู้รับเหมา ควรพยายามทำความรู้จักและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเอาไว้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นประโยชน์ทั้งต่อการทำงานในปัจจุบันและการหางานในอนาคต ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าเจ้าของบ้านใกล้เคียงเขาจะมีการก่อสร้างซ่อมแซมที่อยากให้ไปทำ หรือ อาจจะแนะนำบอกต่อกับเพื่อนฝูงคนรู้จัก ก็เป็นเรื่องที่ดีเพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
การที่เจ้าของบ้านไม่ถูกกัน เป็นเรื่องที่ทำให้ ผู้รับเหมา ทำงานก่อสร้างได้ลำบาก ดังนั้นจึงต้องระวังให้มาก และที่สำคัญก็คือ เรื่องในข้อสุดท้าย เพราะหากว่า มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเข้าแล้ว ก็ไม่เป็นปัญหา สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัว แต่... ขอเน้นย้ำให้ระมัดระวัง และทำให้ถูกต้องให้มากที่สุด ! เพื่อลดโอกาสในการเกิดปัญหา !!!
ป้ายกำกับ:
งานช่าง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น