การถมดินเป็นขั้นตอนแรกๆ ในการทำงานก่อสร้างที่ ผู้รับเหมา จะต้องดำเนินการ เพื่อให้พื้นที่มีความเหมาะสมที่จะก่อสร้างอาคารลงไปบนที่ดินผืนนั้น แต่หลังจากที่ถมดินแล้ว
ใช่ว่าจะสามารถก่อสร้างได้ทันทีเสียทุกครั้ง
ยังมีขั้นตอนที่ต้องพิจารณาก่อนเพื่อให้เกิดความเหมาะสมที่จะทำการก่อสร้าง
เรื่องนี้ไม่อาจชะล่าใจ เพราะหากไม่ระวังให้ดี
อาจเกิดปัญหาหนักหนาถึงกับบ้านเกิดอาการทรุดและแตกร้าวเสียหายได้ !
การถมดินมีขั้นตอนหลายขั้น ซึ่งเราได้เคยนำมาเล่าไปแล้วในตอน “ขั้นตอนการถมและปรับที่ ” แต่นอกเหนือจากการที่เราต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนต่างๆ ดังกล่าวไปแล้ว ยังมีเรื่องการพิจารณาอีกว่า ผู้รับเหมา ควรเริ่มลงมือก่อสร้างบ้าน หรือ อาคารเมื่อใดหลังจากการถมดินผ่านไปแล้ว ??
สำหรับเรื่องนี้ ผู้รับเหมา จะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน เช่น
1. ลักษณะของดิน เนื่องจากดินแต่ละชนิดแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันไป
ซึ่งเรื่องนี้มีผลในเรื่องระยะเวลาการรอให้ดินยุบตัวและเหมาะสมในการการก่อสร้าง
2. สภาพของพื้นที่แต่เดิมก่อนการถมดิน เช่น
หากเป็นพื้นที่ซึ่งเคยมีน้ำขัง มีความชื้นสะสมอยู่ด้านล่าง
ก็อาจจะต้องมีการเสริมความแข็งแรงของรากฐานเพื่อให้เกิดความมั่นคงกับอาคารที่สร้างขึ้นเหนือที่ดินผืนนั้นๆ
3. รูปแบบของฐานรากของอาคาร เรื่องนี้ก็มีผลในการตัดสินใจว่าจะเริ่มก่อสร้างบ้านเมื่อใดหลังจากถมดินเสร็จ
ซึ่งรูปแบบของฐานรากก็จะมีอยู่สองแบบด้วยกัน ได้แก่ แบบฐานรากแผ่ คือ
การก่อสร้างลงบนตอม่อหรือคานดินเลย
วิธีนี้ทำได้เฉพาะในเขตที่มีดินเป็นดินแข็ง เช่น ภาคเหนือ และภาคอีสาน
ที่มีดินแข็งมาก
แต่การก่อสร้างแบบนี้ควรรอให้ดินเกิดการยุบตัวลงอย่างเต็มที่เสียก่อน
ไม่ควรทำทันทีหลังจากถมดินใหม่ และแบบที่สองก็คือ
แบบฐานรากที่มีเสาเข็ม เป็นการเสริมเสาเข็มลงไปในพื้นดิน
ไม่ว่าจะด้วยการใช้เข็มตอก หรือเข็มเจาะ
เพื่อให้เสาเข็มช่วยในการรับน้ำหนักของบ้านเอาไว้
การทำฐานรากแบบนี้สามารถสร้างบ้านได้เลยไม่จำเป็นต้องรอ
4. การเสริมความแข็งแรงของรากฐาน ในที่นี้ก็คือ การตอกเสาเข็ม
ในกรณีที่พื้นดินเป็นดินเหนียว หรือดินที่ไม่แน่น อย่างเช่นในเขต กทม.
จำเป็นที่จะต้องเสริมความแข้งแรงให้กับฐานรากด้วยการเพิ่มเสาเข็มลงไปก่อนจึงจะก่อสร้างได้
ข้อดีของการเสริมความแข็งแรงนี้ช่วยให้ ผู้รับเหมา
สามารถเริ่มงานการก่อสร้างได้เร็ว ไม่ต้องกังวลหรือรอเรื่องความแน่นของดิน
ที่ต้องใช้ระยะเวลานาน
เพราะเสาเข็มทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของอาคารที่ก่อสร้างเอาไว้แล้ว
นี่เป็นหลักที่ ผู้รับเหมา
สามารถใช้ในการพิจารณาว่าควรสร้างบ้านหรือสร้างอาคารเมื่อใดหลังจากถมที่เสร็จแล้ว
ซึ่งก็ควรทำให้ถูกต้อง
เพื่อให้บ้านหรืออาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้นมีความมั่นคงแข็งแรง
ไม่เกิดการแตกร้าว หรือ เกิดการทรุดตัวในภายหลัง
ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเจ้าของบ้าน และผู้รับเหมาเองยังมีส่วนต้องรับผิดชอบ แถมเสียชื่อเสียงอีกต่างหาก !!
ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com แหล่ง หาช่าง ผู้รับเหมา
บ้านที่อยู่อาศัย
- กฎหมาย (13)
- การดูแลรถ (1)
- เครื่องมือช่าง (2)
- งานช่าง (186)
- งานสี (16)
- จัดซื้อจัดจ้าง (7)
- จัดซื้อจัดจ้างงานรัฐ (3)
- ธุรกิจ (20)
- บทความ seo (24)
- บ้านเชียงใหม่ (2)
- บ้าน ที่อยู่อาศัย (100)
- บ้านหรู เชียงใหม่ (10)
- ประกวดราคา (4)
- ผู้รับเหมา (55)
- รับเหมาก่อสร้าง (43)
- แร็ปสีรถ (1)
- วัสดุช่าง (2)
- สัญญช่าง (1)
- สัญญาช่าง (2)
- สุขภาพ (6)
- เสาเข็ม (1)
- หาช่าง (61)
- อาหารเครื่องดื่ม (1)
- อาหารญี่ปุ่น (2)
วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น