วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คานร้าว ระวังบ้านพังต้องเรียกทั้ง ผู้รับเหมา และวิศวกร


รอยร้าวกับบ้านปูนเป็นเรื่องที่ดูเหมือนจะหนีกันไม่พ้น บ้านที่สร้างจากคอนกรีตแทบจะทุกหลัง มีปัญหารอยร้าวเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น ด้วยความที่มีแทบทุกที่คนก็เลยเห็นกันว่าเป็นเรื่องธรรมดา หากเห็นแล้วไม่สวยก็มักจะแค่เอาปูนมาฉาบทับและทาสีใหม่ แต่... ทราบหรือไม่ว่า รอยร้าวมันไม่ใช่เรื่องเล็กๆ และไม่สามารถมองข้ามได้ และมีรอยร้าวบางตำแหน่งที่หากว่าเกิดขึ้นต้องรีบหาทางแก้ไขปัญหาโดยเร็ว อย่างเช่น “คาน” หากว่ามีรอยร้าวขึ้นเราอาจจะต้องถึงขั้นหา ผู้รับเหมา หรือวิศวกรมาจัดการแก้ปัญหาโดยด่วน !


 คาน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของบ้าน มีหน้าที่รับน้ำหนักของโครงสร้างที่อยู่เหนือขึ้นไป และกระจายน้ำหนักส่งต่อลงไปยังเสา หรือ โครงสร้างที่อยู่ด้านล่าง ตัวคานจึงมีความสำคัญมากในการทำให้บ้านคงรูปร่างอยู่ได้ ดังนั้นหากว่าที่ตัวคานเกิดมีรอยร้าวขึ้น นั่นอาจจะหมายถึง โครงสร้างบ้านของเรากำลังมีปัญหา !

คานร้าว เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งแบบที่ร้าวเฉพาะส่วนผิว ซึ่งเกิดจากการหดตัวของคอนกรีตบริเวณผิวนอก หากเป็นกรณีนี้ไม่อันตราย เพราะไม่กระทบถึงความแข็งแรงในการรับน้ำหนัก แต่หากว่ามันเป็นการร้าวที่มีความลึก สาเหตุอาจเกิดจากการรับน้ำหนักที่เกินความสามารถของคาน เช่น คานชั้นบนเกิดอาการร้าว เนื่องจาก มีการตั้งแท็งน้ำขนาดใหญ่เอาไว้ที่ชั้นดาดฟ้า ทำให้มีน้ำหนักกดลงมายังคานมาก จนความแข็งแรงของคอนกรีตและโครงสร้างรับไม่ได้ ทำให้เกิดการแอ่นตัวทำให้เกิดรอยร้าว อันนี้เป็นเรื่องที่อันตราย !

หากเกิดกรณีนี้ขึ้นอย่างแรกที่เราควรทำทันทีก็คือ รีบขึ้นจัดการกับน้ำหนักที่อยู่เหนือคาน ขนย้ายสิ่งเหล่านั้นออกไปให้หมด หากว่า เมื่อย้ายน้ำหนักเหล่านั้นออกแล้วขอให้ช่าง หรือ ผู้รับเหมา มาช่วยซ่อมแซมให้ วิธีการก็คือ การใช้วัสดุค้ำยันมาช่วยค้ำโครงสร้างของคาน หากอาการร้าวที่คานลดลงและกลับมาแนบเหมือนเดิม ก็แปลว่ามันเกิดรอยร้าวจากน้ำหนักที่เกิดความสามารถรับแรงแน่นอน ขั้นต่อมาช่าง หรือ ผู้รับเหมา เขาจะซ่อมให้ด้วยอัดน้ำยาประสานคอนกรีตเข้าไปภายในรอยร้าว เพื่อประสานเนื้อคอนกรีตให้กลับมาเหมือนเดิม จากนั้นค่อยเอาตัวค้ำยันออก ก็สามารถใช้งาต่อได้ แต่ต้องไม่เอาน้ำหนักมากๆ ขึ้นไปวางไว้เหนือคานอีก 


 คานร้าว ไม่ใช่เรื่องเล็ก ! เมื่อใดก็ตามที่พบเห็นอาการร้าวของคานอย่างนิ่งนอนใจ ให้รีบหาสาเหตุและทำการแก้ไข หากทำเองไม่ได้ก็ให้ติดต่อ หาช่าง ผู้รับเหมา (ถ้าได้คนเดิมที่เคยก่อสร้างอาคารให้ก็จะดีมาก) รวมถึงถ้าจำเป็นก็ต้องมีวิศวกรมาช่วยจัดการ เพื่อความปลอดภัยในการอยู่อาศัยของเรา !

ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น