บ้านที่อยู่อาศัย
- กฎหมาย (13)
- การดูแลรถ (1)
- เครื่องมือช่าง (2)
- งานช่าง (186)
- งานสี (16)
- จัดซื้อจัดจ้าง (7)
- จัดซื้อจัดจ้างงานรัฐ (3)
- ธุรกิจ (20)
- บทความ seo (24)
- บ้านเชียงใหม่ (2)
- บ้าน ที่อยู่อาศัย (100)
- บ้านหรู เชียงใหม่ (10)
- ประกวดราคา (4)
- ผู้รับเหมา (55)
- รับเหมาก่อสร้าง (43)
- แร็ปสีรถ (1)
- วัสดุช่าง (2)
- สัญญช่าง (1)
- สัญญาช่าง (2)
- สุขภาพ (6)
- เสาเข็ม (1)
- หาช่าง (61)
- อาหารเครื่องดื่ม (1)
- อาหารญี่ปุ่น (2)
วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
รู้จักวัสดุก่อสร้างก่อนจ้าง ผู้รับเหมา เริ่มงาน ตอนที่ 2 คอนกรีต
มาถึงตอนที่ 2 ของซีรี่ย์ชุด “รู้จักวัสดุก่อสร้าง” ซึ่งเป็นซีรี่ย์บทความเพื่อให้ความรู้กับเจ้าของบ้าน และ ช่าง หรือ ผู้รับเหมา เพื่อเพิ่มเติมความเข้าในเรื่องวัสดุที่เราต้องใช้งาน สำหรับ คอนกรีต นั้น เป็นวัสดุก่อสร้างอีกชนิดหนึ่งที่มีการใช้งานสูงมาก เรียกได้ว่าบ้านแทบทุกหลัง ต้องมีคอนกรีตปนเข้าไปในองค์ประกอบ แม้แต่บ้านไม่ ก็มีจำนวนไม่น้อยที่มีเสา หรือฐานเป็นคอนกรีต เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และคอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่ได้รับความนิยมใช้ในการทำโครงสร้างของอาคารมาก เนื่องจากมีความแข็งแรงและก่อสร้างได้ง่าย
คอนกรีต เป็นส่วนผสมของ ปูนซีเมนต์ ทราย หิน และน้ำ ที่เมื่อนำมารวมกันจะเกิดการทำปฏิกิริยา ทำให้ได้วัสดุชนิดใหม่ที่มีความแข็งแรง จุดเด่นของมันก็คือ สามารถขึ้นรูปได้ตามที่ต้องการ และสามารถเสริมโครงเหล็กเข้าไปภายใน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้มากขึ้น ซึ่งปกติใช้เป็นโครงสร้าง หรือส่วนประกอบที่ต้องรับแรง ซึ่งเราเรียกว่า คอนกรีตเสริมเหล็ก หรือเรียกย่อๆ ว่า ค.ส.ล. อย่างไรก็ตาม คอนกรีต เองก็มีอยู่หลายชนิด ขึ้นอยู่กับส่วนผสมและการเพิ่มเติมคุณสมบัติเพื่อการใช้งานในแต่ละประเภท ซึ่งเรื่องนี้ เราจะต้องศึกษาให้เข้าใจ และอาจจะต้องหารือ กับ ผู้รับเหมา ที่ทำงาน รับเหมาก่อสร้าง ของเราด้วยว่าต้องใช้คอนกรีตแบบไหนสำหรับงานก่อสร้างของเราที่กำลังเกิดขึ้น
คอนกรีต ที่มีใช้อยู่ทั่วๆ ไป ที่เจ้าของบ้านควรทำความเข้าใจก่อนหา ผู้รับเหมา สามารถแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ใหญ่ๆ ได้แก่
ชนิดที่ 1 Plain Concrete หรือ คอนกรีตแท่งทั่วไป เป็นการผสมของปูนซีเมนต์ ทราย หิน และน้ำ เพื่อหล่อขึ้นรูป ไม่มีการเพิ่มเหล็กเส้นเข้าไป ใช้สำหรับงานโครงสร้างที่รับเฉพาะแรงอัด เช่น กำแพงกันดิน แท่งคอนกรีต เป็นต้น
ชนิดที่ 2 Reinforce Concrete หรือ คอนกรีตเสริมเหล็ก มีการเสริมโครงเหล็กเข้าไปภายใน ในขั้นตอนการหล่อคอนกรีตเพื่อขึ้นรูป สามารถรับได้ทั้งแรงอัดและแรงดึง นิยมใช้ในงานโครงสร้างของอาคาร ไม่ว่าจะเป็นเสา พื้น คาน หรือ ฐานราก ก็เป็นคอนกรีตชนิดนี้ทั้งสิ้น แต่จะมีความแข็งแรง มากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับส่วนผสมและขนาดของโครงเหล็กที่ใส่เข้าไปภายในด้วย
ชนิดที่ 3 Lightweight Concrete หรือ คอนกรีตเบา เป็นคอนกรีตที่ ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำหนักของวัสดุในการก่อสร้าง มีการเพิ่มส่วนผสมพิเศษลงไป เพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยา มีฟองอากาศขนาดเล็กๆ ภายใน ทำให้เนื้อของคอนกรีตฟู ดังนั้นจึงทำให้น้ำหนักต่อปริมาตรลดลง สามารถลดภาระการรับน้ำหนักของอาคารได้ ช่วยในการประหยัดต้นทุนในเรื่องโครงสร้าง
ชนิดที่ 4 Prestress Concrete หรือ คอนกรีตอัดแรง เป็นคอนกรีตที่มีการสร้างโดยใช้ลวดนับแรงดึง ใส่ลงไปขณะหล่อ ทำให้โครงสร้างมีความสามารถในการรับแรงดัดและแรงเฉือนได้มากยิ่งขึ้น
ชนิดที่ 5 Precast Concrete หรือ คอนกรีตสำเร็จรูป เป็นคอนกรีตแบบ ที่มีการหล่อขึ้นรูปมาแล้วจากโรงงาน สามารถนำมาใช้งานได้ทันที ส่วนมากเป็นส่วนประกอบของอาคารแบบแยกเป็นชิ้นๆ เช่น พื้น , ผนัง , คาน , เสาเจ็มคอนกรีตอัดแรง เป็นต้น...
นอกจากนี้เรายังสามารถแยกประเภทของคอนกรีต ได้อีก 2 แบบ คือ...
1. คอนกรีตผสมเองหน้างาน คือ การนำเอาปูน และส่วนผสมอื่นมาผสมเองที่หน้างาน ส่วนมากเป็นงานขนาดเล็ก ผสมทีละน้อยเพื่อใช้ในแต่ละส่วน อาจใช้แรงงานคน หรือ ใช้โม่ผสมก็ได้
2. คอนกรีตผสมเสร็จ คือ คอนกรีตที่ผสมมาจากโรงงาน ขนส่งด้วยรถปูนขนาดใหญ่ เมื่อมาถึงก็เทลงในแบบที่เตรียมไว้ แบบนี้ต้องคำนวณระยะเวลาในการขนส่งให้ดี เพราะหากเกินกำหนดเวลา ปูนที่ผสมสำเร็จมาจะใช้งานไม่ได้ และต้องส่งคืนกลับ
ในการผสมคอนกรีต เพื่อใช้งานเราจะต้องเคร่งครัดในเรื่องของอัตราส่วน ที่เหมาะสมสำหรับงานแต่ละประเภท รวมถึงชนิดของปูนซีเมนต์ที่นำมาใช้จะต้องถูกต้องเหมาะสม ใช้ให้ถูกกับประเภทของงาน เพื่อให้ได้งานที่ออกมามีความแข็งแรงมั่นคงตามที่เราต้องการ
และหากต้องการบริการในการ รับเหมาก่อสร้าง งานช่าง ที่สามารถวางใจได้ สามารถเข้ามาประกาศความต้องการ เพื่อ หาช่าง หรือ ผู้รับเหมา ได้ที่ houzzMate.com แหล่งรวมช่างที่มีช่างและ ผู้รับเหมา ที่พร้อมไปบริการรอคุณอยู่ และหากคุณเป็นช่าง หรือ ผู้รับเหมา ก็สามารถเข้าสมัครสมาชิกเพื่อหาความต้องการช่างจากผู้อยู่อาศัยได้ด้วยเช่นเดียวกัน !!
ขอบคุณบทความจาก houzzMate.com
ป้ายกำกับ:
งานช่าง,
บ้าน ที่อยู่อาศัย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น