วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560

งานก่อสร้างไม่ได้มีแค่ผู้รับเหมา

บทความนี้อาจจะเอามาบอกเล่าพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่าง เจ้าของบ้าน หรือ... ผู้ว่าจ้าง ที่กำลังต้องการบริการงานก่อสร้าง กับฝ่ายของช่างเพื่อให้เข้าใจตรงกัน เรื่องนี้มาจากการที่เราพบว่า เวลาเกิดความต้องการบริการนั้น ฝ่ายผู้จะว่าจ้าง หรือ เจ้าของบ้าน จะมองไปที่การหา ผู้รับเหมาก่อสร้าง เพียงอย่างเดียว พูดง่ายๆ ก็คือ คิดว่า มี ผู้รับเหมา คนเดียวจบ ได้ครบทุกอย่าง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในงานก่อสร้าง อาศัยบุคลากรหลายฝ่ายเข้ามาทำงานร่วมกันมากกว่านั้นเพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์ ซึ่งเรื่องนี้เจ้าของบ้านควรทราบเพื่อที่จะได้เข้าใจและรู้จักหน้าที่รวมถึงบทบาทของบุคลากรที่จะมาดำเนินงานร่วมกันทั้งหมดก่อน


บุคลากรที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้างไม่ได้มีแค่ผู้รับเหมา...



บุคลากรที่มาเกี่ยวข้องในงานการก่อสร้าง นั้นไม่ได้มีเฉพาะชุดที่ทำในส่วนงาน รับเหมาก่อสร้าง ของ ผู้รับเหมา เพียงกลุ่มเดียว ซึ่งฝ่ายของ ผู้รับเหมาก่อสร้าง นี้ถือเป็นฝ่ายการปฏิบัติ ทำหน้าที่จัดการงานก่อสร้างให้เกิดขึ้นจนแล้วเสร็จ แต่ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น นอกเหนือจากนี้ ยังมีบุคลากรอีกหลายฝ่ายมามีส่วนร่วม ตั้งแต่การเริ่มต้นไปจนถึงขั้นสุดท้าย ซึ่งเราจะมาแนะนำให้กับท่านที่กำลังต้องการบริการงานก่อสร้างได้รู้จักหน้าที่และบทบาทของแต่ละฝ่าย เพื่อที่จะได้ประสานงานหรือติดตามงานได้อย่างเหมาะสม ไม่ต้องรอแค่ ผู้รับเหมา เป็นฝ่ายดำเนินการอยู่เพียงลำพังฝ่ายเดียว

บุคลากรที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้างได้แก่...

1. สถาปนิก นี่เป็นบุคลากรกลุ่มแรกที่มีบทบาทในเรื่องของงานก่อสร้าง เนื่องจากพวกเขาเป็นฝ่ายออกแบบบ้านหรืออาคารให้ออกมาตามแบบที่เราต้องการ งานในส่วนนี้บางครั้งบางที เจ้าของบ้านคิดว่าเป็นของ ผู้รับเหมา เพราะเขาเป็นผู้เอาแบบมาเสนอ แต่จริงๆ แล้ว งานนี้เป็นของกลุ่มบุคลากรที่เรียกว่า สถาปนิก พวกเขาจะทำหน้าที่ออกแบบรูปร่างและผังของอาคาร ซึ่งหากต้องการได้บ้านหรืออาคารที่ตรงกับใจต้องคุยกับสถาปนิกเป็นหลัก

2. วิศวกร บุคลากรกลุ่มนี้ขาดแทบจะไม่ได้เลย วิศวกร นั้นในงานการก่อสร้างส่วนมากเป็น วิศวกรโยธา หรือ วิศวกรโครงสร้าง ซึ่งบุคลากรกลุ่มนี้ ทำหน้าที่ในการ ออกแบบเพื่อให้เกิดความแข็งแรง ทำงานประสานรับไม้ต่อจากสถาปนิก เมื่อได้รูปร่างหน้าตารูปแบบตามที่ต้องการจากสถาปนิก วิศวกรจะออกแบบโครงสร้างให้มีความแข็งแรงปลอดภัยในการใช้งานอยู่อาศัย สำหรับงานขนาดใหญ่นอกจากวิศวกรโครงสร้าง ยังมีวิศวกรฝ่ายอื่นๆ มาร่วมด้วย เช่น วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรสุขาภิบาล วิศวกรสิ่งแวดล้อม... แล้วแต่ความจำเป็นและขนาดของงาน

 3. ผู้รับเหมา แน่นอนว่าขาดบุคลากรกลุ่มนี้ เพราะเป็นผู้ดำเนินการในการก่อสร้าง จะเรียกว่าฝ่ายปฏิบัติและอำนวยการก็น่าจะได้ เพราะหน้าที่หลักของ ผู้รับเหมา ก็คือการประสานงาน และควบคุมงาม เพื่อให้งานในภาพรวมสำเร็จ ตามแบบและมาตรฐานของแบบ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกฝ่าย ตั้งแต่ผู้ออกแบบ ผู้จำหน่ายวัสดุ ช่าง คนงานก่อสร้าง และผู้ตกแต่ง จนได้งานก่อสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ จนบางครั้งเจ้าของบ้านคิดว่าติดต่อแค่ ผู้รับเหมาก่อสร้างอย่างเดียวก็เพียงพอ ซึ่งก็สามารถทำได้ แต่ย่อมจะดีกว่าหากเจ้าของบ้าน หรือ ผู้ว่าจ้าง ติดต่อกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย เพื่อที่จะได้งานก่อสร้างในแบบที่พึงพอใจมากที่สุด

4. มัณฑนากร บุคลากรกลุ่มนี้ทำหน้าที่ในเรื่องการออกแบบงานตกแต่ง เพื่อให้เกิดความสวยงามลงตัว เพราะการจะก่อสร้างบ้านหรืออาคารสักหลัก ไม่เพียงแต่มีความมั่นคงแข็งแรง และมีรูปทรงที่สวยงามเท่านั้น ยังต้องมีการตกแต่งอย่างใส่ใจในรายละเอียดอีกด้วย เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และลงตัวมากยิ่งขึ้น หากขาดส่วนนี้ไป ก็มักจะได้งานที่ดูทื่อๆ แม้จะใช้งานได้ แต่... ก็ไม่สวยจนน่าพอใจอย่างที่มันควรจะเป็น

นี่คือ 4 กลุ่มบุคลากร ที่ เจ้าของบ้านควรทำความรู้จักและมีการประสานงานเพื่อบอกความต้องการของตนเองและรับฟังแนวคิดความเห็น เพื่อให้ได้งานก่อสร้างที่ออกมาสมบูรณ์และตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด ไม่ได้มีเพียงแค่ ผู้รับเหมา เท่านั้น ที่เราจะต้องประสานงานอย่างใกล้ชิด

ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com แหล่ง หาช่าง ผู้รับเหมา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น